งานวิจัยในผู้ป่วยโรคไต
การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับโครงการวิจัยการติดตามผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในเขต ๕ อำเภอ จังหวัดกำแพงเพชร
สืบเนื่องจากการวิจัยที่ผ่านมา (1)พบว่าการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะที่ 3 และ 4 ที่โรงพยาบาลชุมชน
ร่วมกับการจัดโปรแกรม
เยี่ยมบ้านโดยบุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) สามารถช่วยชะลอความเสื่อมของไตได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับการดูแลผู้ป่วยตามขั้นตอน
การบริบาลปกติกลุ่มคณะผู้วิจัย ประสงค์จะทำโครงการศึกษาเพิ่มเติม
เรื่อง "การศึกษาเพื่อหาแนวทางการบริหาร
จัดการโรคไตเรื้อรังในระดับโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) : โครงการวิจัยต้นแบบ จังหวัดกำแพงเพชร (ESCORT-2)"
ขึ้น (2)
เพื่อศึกษาเพิ่มเติมจากโครงการวิจัยเดิม จะทำต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี เพื่อตอบคำถามว่า..
"หากขยายผล
การปฏิบัติงานของโครงการฯเดิมไปยัง รพช.อื่นๆรวม 5 แห่ง แต่ลดความเข้มข้นของการใช้บุคลากรลงบ้าง เพื่อ
ให้เหมาะสมกับบริบทของ รพช. ที่มีข้อจำกัดในด้านบุคลากร งบประมาณและองค์ความรู้ ยังจะสามารถทำให้
เกิดผลดีต่อผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะยาว
ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับผลที่ได้จากโครงการวิจัยฯ เดิม หรือไม่?"
ในรายงานวิจัยนี้คณะผู้วิจัยต้องการนำเสนอการพัฒนาระบบ สารสนเทศสำหรับใช้จัดทำฐานข้อมูลและเชื่อมโยง
ข้อมูลสำหรับโครงการวิจัยESCORT-2 ดังกล่าว เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับการจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อการดูแล
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะยาวต่อไป
โปรแกรมคัดกรองผู้ป่วยCKDเข้าร่วมวิจัย 5 โรงพยาบาลชุมชน
รพช. 5 แห่งของจังหวัดกำแพงเพชร คณะผู้วิจัยคาดว่าโปรแกรมนี้จะเป็นต้นแบบ ในการพัฒนา เป็นระบบการจัดเก็บข้อมูลทางคลินิกของ
ผู้ป่วยในระดับ มหภาคต่อไปการเชื่อมโยงกับระบบ GPS จะ ช่วยให้บุคลากรประเมินสถานภาพของถิ่นที่อยู่ผู้ป่วยได้แม่นยำขึ้น